ที่ราบภาคกลางของไทย-central01
น้ำบาดาลในลุ่มน้ำเจ้าพระยาหรือที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย
groundwater in Chao Phraya Basin
น้ำบาดาลในลุ่มน้ำเจ้าพระยาหรือที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย
groundwater in Chao Phraya Basin
ภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของไทย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในอดีตวิถีชีวิตของชาวไทยพึ่งพิงสายน้ำเป็นหลัก โดยเฉพาะการคมนาคม แต่ในปัจจุบันสายน้ำลดความสำคัญลง คูคลองถูกปล่อยให้ตื้นเขินหรือถูกถมเพื่อทำที่อยู่อาศัย สายน้ำกลายเป็นที่ระบายขยะ สิ่งปฏิกูล ความเจริญอย่างรวดเร็วทำให้คนกรุงเทพฯ หันมาใช้น้ำจากใต้ดินหรือแหล่งน้ำบาดาลกันอย่างมากมายจนทำให้เกิดคำว่า "แผ่นดินทรุด" และเกิดมีกฏหมายควบคุมการเจาะน้ำบาดาลขึ้น เรามารู้จักน้ำบาดาลกันเถอะ
น้ำบาดาลเป็นน้ำที่กักเก็บตามธรรมชาติอยู่ในชั้นหินหรือชั้นตะกอนภายใต้พื้นดินในความลึกระดับต่าง ๆ กัน เป็นชั้น ๆ น้ำนี้มาจากน้ำผิวดินที่ซึมซับไหลไปตามชั้นหินที่มีรูพรุน เช่น หินทราย หินกรวดมน หรือชั้นทราย เมื่อมีชั้นหินเนื้อทึบ เช่น หินดินดาน หรือชั้นดินเหนียวปิดทั้งด้านล่างและด้านบน ชั้นหินเนื้อพรุนจะกลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำนั้นไว้ เรียกว่า ชั้นหินกักเก็บ (reservoir) ซึ่งหากเจาะลงไปถึงชั้นกักเก็บนี้ก้สามารถดึงน้ำขึ้นมาได้
แหล่งน้ำบาดาลในลุ่มเจ้าพระยาได้จากชั้นน้ำในหินร่วนประเภทตะกอนน้ำพา (alluvium) และตะกอนตะพักลุ่มน้ำ (terrace) ในระดับความลึกไม่เกิน ๗๐๐ เมตร แบ่งออกได้เป็น ๘ ชั้น แต่ละชั้นมีความหนาเฉลี่ยประมาณ ๕๐ เมตร ชั้นน้ำชั้นบน ๆ คุณภาพไม่ดีเป็นน้ำกร่อยถึงเค็ม น้ำชั้นล่างสุดทีความลึก ๔๕๐ เมตรลงไปเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีที่สุด
(ข้อมูลจาก ธรณีวิทยาประเทศไทย ๒๕๔๒)
central01