Bangkok flood
ภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่าง 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศิจกายน 2554
ภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่าง 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศิจกายน 2554
ภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่าง 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศิจกายน 2554 ประมาณกลางเดือน ตุลาคม ปริมาณน้ำที่เกิดจากพายุ 5 ลูก คือ พายุโซนร้อน ไหหม่า ราวๆปลายเดือน มิถุนายน, พายุโซนร้อน นกเตน ราวๆปลายเดือนกรกฎาคม, พายุโซนร้อนไห่ถางและพายุไต้ฝุ่นเนสาด ราวๆ ปลายเดือนกันยายน, สุดท้ายพายุโซนร้อนนาลแก ราวๆต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปริมาณน้ำในเขื่อนเก็บน้ำต่างๆ ไม่สามารถเก็บน้ำได้ทำให้ต้องเปิดน้ำระบายออกสู่พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำอย่างมากอยู่แล้วจากฝนตกตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ทำให้ปริมาณน้ำมหาศาลท่วมตั้งแต่ภาคเหนือ ไล่ลงมาถึงภาคกลางตอนบน และตอนล่าง ไหลไปตามแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน รวมเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านจังหวัด ตาก นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ตลอดระยะทางตั้งแต่ต้นจนถึงอ่าวไทยปริมาณน้ำมหาศาลได้ไหลท่วมทุกพื้นที่ที่ไหลผ่านทำให้เกิดน้ำท่วมสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายทั้งที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งพื้นที่ จ.อยุธยา จ.ปทุมธานี จ.สมุทรสาคร ทำให้มีผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม หลายล้านคน ต้องอพยพไปอยู่ตามศูนย์พักพิงที่ทางรัฐบาลจัดสถานที่ให้ ในจังหวัด ราชบุรี ชลบุรี เป็นต้น ส่วนในกรุงเทพมหานคร แม้จะได้มีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ เพราะระบบเครื่องสูบน้ำของกรุงเทพมหานครที่ได้เตรียมไว้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธภาพ
ถึงแม้จะได้มีการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่าสามารถสูบน้ำโดยอุโมงค์ยักษ์สู่ทะเลได้แต่น้ำก็ท่วมกรุงเทพชั้นนอกไปทั้งหมดอีกทั้งยังได้เกิดปัญหาชาวบ้านที่อยู่เหนือและใต้แนวป้องกันน้ำมีปัญหาจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน 2-3 เดือน นับว่ากรุงเทพมหานครไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้
ภาพที่นำมาแสดงถ่ายจากสถานที่ในเขตลาดพร้าวบางส่วน ในส่วนของ คลองลาดพร้าว, คลองเสือน้อย,แยกโรงไม้ใกล้โรงเรียนสตรีวิทยา2, ซอยนาคนิวาส 48, ชุมชนเสือใหญ่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน)
ภาพถ่ายระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 12 พฤศจิกายน 2554