สลัดไดป่า south26
สลัดไดป่า เกาะแม่เกาะ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
Euphorbia in Ko Mae Ko, Angthong National Park Changwat Surat Thani
(March 1999)
สลัดไดป่า เกาะแม่เกาะ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
Euphorbia in Ko Mae Ko, Angthong National Park Changwat Surat Thani
(March 1999)
พืชที่มีชื่อเรียกว่า สลัดได ตามพจนานุกรมพืชและสัตว์ในเมืองไทยของวิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ๒๕๓๗ กล่าว่า มี๔ ชนิด เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้น แต่มีจากต่างประเทศ ๑ ชนิด คือ ชนิดที่เรียกว่า สลัดไดบ้าน (โห! อุตส่าห์ดีใจว่า เป็นของไทยแท้ ๆ แล้วเชียวนา ยังไม่ทันไรเลย ใจที่พอง ๆ อยู่ ก็หุบแฟบลงทันที มีของต่างด้าวมาแทรกซะแล้ว เอา! ก็ต้องยอมรับความจริงกัน คนไทยชอบของต่างชาติ) สลัดใดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนาม และไม่มีใบ รูปที่นำมาเสนอ เป็นต้นสลัดไดป่า เจ้าหน้าที่อุทยานได้ทำป้ายชื่อติดไว้ให้ทราบด้วย thaiphotosite จดเอามาไว้ สมัยนี้มีกล้องดิจิตอลแล้ว ไม่เสียเวลาจดละ กดฉับเข้าให้เลย ไม่ใช้ก็ลบทิ้งทีหลังได้ ขืนทำอย่างนี้กับกล้องฟิล์ม คงอดตายกันบ้าง)
สลัดได ๔ ชนิด มีดังต่อไปนี้ สลัดไดซึ่งมีชื่อพื้นเมืองว่า เคี๊ยะ (เหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia lacei Craib
สลัดไดบ้านมี (พรรณต่างประเทศ) ชื่อพื้นเมืองว่า เคียะฮั้ว (เหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia trigona Haw
สลัดไดป่า (กลาง) ชื่อพื้นเมือง กระลำพัก (คนโคราชเรียก แปลว่า ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่าและต้นตาตุ่มทะเล กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทำยาได้) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia antiguorum
ชนิดสุดท้าย สลัดไดลายเหลือง (คนกรุงเทพฯ เรียก) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia lactae Haw.
ของเราเป็นชนิดที่ ๓ สลัดไดป่า ฟันธง! (อุทยานฯ บอก)
มาเพิ่มภาพสลัดไดที่ถ่ายไว้ในคราวเดียวกันแต่ภาพไม่สวยเลย จำใจเอามาลงเพราะจะได้ยืนยันว่า สลัดไดต้นนี้เจริญเติบโตอยู่บนผาหินปูน โดยหยั่งรากชอนไชเข้าไปในรอยแตกของหิน และอาศัยดูดน้ำที่ซึมขังอยู่ในรอยแตกเลี้ยงตัว