กิ้งก่า ตั๊กแตนกิ่งไม้ animal44

กิ้งก่า ตั๊กแตนกิ่งไม้ บนต้นโป๊ยเซียนจากจังหวัดขอนแก่น (view more...)

Lizard and Walking Stick on the Crown of Throne in Changwat Khon Kaen

(October 2000 and September 1998)

More details


฿30 tax incl.

1 item in stock

Warning: Last items in stock!

มีรูปเก่านานมาแล้ว ถ่ายไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ (ตั๊กแตนกิ่งไม้ตัวผอม) และ พ.ศ. ๒๕๔๓ (กิ้งก่า) สัตว์ทั้งคู่ต่างก็เกาะอยู่บนต้นโป๊ยเซียนข้างทางโดยไม่ได้นัดกันเลย คราวนี้นึกขึ้นได้ว่า เคยนำเสนอรูปตั๊กแตนกิ่งไม้จากภูฝอยลมอุดรไปแล้วที่ animal10 และพูดถึงต้นโป๊ยเซียนดอกจิ๋วไว้ใน nature107 ดังนั้นจึงเห็นควรนำรูปเก่าแก่ (ตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของ thaiphotosite ที่ต้องการนำรูปภาพเก่า ๆ มาบันทึกไว้) มาเสนอให้ชมกัน ภาพหนึ่งก็จะเห็นดอกโป๊ยเซียนดอกใหญ่ อีกภาพหนึ่งก็จะเห็นใบชัด ๆ เท่ากับเป็นการเสริมข้อมูลของดอกโป๊ยเซียนและตั๊กแตนกิ่งไม้ที่เคยบอกมี ๒ ชนิด ให้ครบถ้วนขึ้น

มาว่ากันเรื่องกิ้งก่า ข้อมูลที่มีไม่อาจบอกได้ว่า เป็น กิ้งก่า-แก้ว ตามอนุกรมวิธานสัตว์อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๐ ซึ่งกล่าวว่า เป็นกิ้งก่าขนาดกลาง อยู่ในสกุลกิ้งก่าบ้าน ตัวเต็มวัยยาว ๒๗ เซนติเมตร หางยาวมากกว่าตัว ปรกติมีสีน้ำตาลอมเหลือง ตามตัวมีลายสีน้ำตาลเข้มขวางเป็นระยะ ๆ สามารถเปลี่ยนสีได้ดีมาก (ความสามารถนี้มีบางคนเอาไปกระทบกระเทียบเปรียบเปรยนักการเมือง ว่าอย่างไรนั้น ท่านต้องไปหาอ่านเอาเอง thaiphotosite ไม่บอก) เวลาคึกสีจะเข้มขึ้น โดยท่อนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงสด ลายตามตัวสีน้ำตาลจะเข้มจนเกือบดำ เหนียงใต้คางจะเป็นสีดำเหลือบม่วงมันแววาวและปลายเกล็ดมีสีส้ม สีจะเปลี่ยนกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว โดยตัวผู้จะเปลี่ยนสีได้เข้มกว่าตัวเมีย (แสดงว่า ผู้หญิงเปลี่ยนสีได้น้อยกว่าผู้ชาย ฮา!) กิ้งก่า-แก้ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Calotes emma Gray อยู่ในวงศ์ Acamidae กิ้งก่าของ thaiphotosite ป่านฉะนี้จะไปเกิดเป็นใครไปแล้วก็ไม่รู้ ไม่สามารถไปยั่วให้คึก เพื่อจะดูการเปลี่ยนสีที่น่าจะสวยงามนี้ได้ อย่างไรก็ตาม การฟันธงว่ากิ้งก่าในรูปอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันกับ กิ้งก่า-แก้ว นั้น คงไม่ผิด

Cart  

(empty)

New products

No new products at this time