นกนางนวล animal 72

นกนางนวล บางปู จังหวัดสมุทรปราการ (view more...)

Brown-headed gull in Bangpu Changwat Samut Prakan

January 2010

More details


฿30 tax incl.

1 item in stock

Warning: Last items in stock!

เพิ่งค้นพบรูปเก่าที่เคยบันทึกไว้คราวไปเที่ยวเทศกาลดูนกนางนวลที่บางปูเมื่อ ๒ ปีมาแล้ว ก็สนุกสนานคึกคักดีอยู่ ไปแต่วันหน่อยเลยพอแย่งที่จอดรถได้ เพราะคนนิยมไปกันตอนเย็น ๆ ไม่ร้อน เทศกาลคนเยอะ ๆ ก็น่าเบื่อไปตามระเบียบอย่างนี้แหละนะ

นกนางนวลที่บางปูในปีนั้น (ต้องย้ำว่าในปีนั้น เพราะหลังจากนั้นยังไม่ได้ไปอีกเลย) นกมากจริง ๆ มาคอยกินกากหมูที่ซื้อจากแม่ค้าโยนลงไปให้ หรือโยนขึ้นไปแล้วนกบินมาโฉบไปกิน ทำไมนกนางนวลจึงชอบกินกากหมูก็ไม่ทราบ สงสัยจะชอบเพราะแม่ค้าทุกคนเอามาขายให้นักท่องเที่ยวโยนให้ละมั้ง ของอื่น ๆ สำหรับนกไม่เห็นมีขาย เลยเหมาเอาว่านกชอบกินกากหมู

นกนางนวลตามหนังสือคู่มือดูนกของรุ่งโรจน์ จุกมงคล ๒๕๔๕ บันทึกนกนางนวล ๖ สายพันธุ์ นกนางนวลธรรมดา (brown-headed gull) นกนางนวลขอบปีกขาว (black-headed gull) นกนางนวลแกรบหงอนใหญ่ (great crest tern) นกนางนวลแกรบธรรมดา (common tern) นกนางนวลแกรบเล็ก (little tern) และนกนางนวลแกรบเคราขาว (whiskered tern) ดูจากคำบรรยายและรูปแล้ว นกนางนวลที่ถ่ายรูปมาได้นั้นเป็นนกนางนวลธรรมดา กล่าวคือ มีลำตัวอวบหนาและปีกกว้างใหญ่ ปากแหลมสีแดง ตาสีขาว ปีกสีเทามีปลายสีดำ ขณะบินจะเห็นจุดกลมสีขาวตรงขอบปีกด้านหน้า (ตรงไหนหวา) ขาสีส้ม ในฤดูผสมพันธุ์หัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม นกนางนวลธรรมดาและนกนางนวลขอบปีกขาวเป็นนกในสกุลเดียวกัน มีลักษณะคล้ายกัน แต่นางนวลขอบปีกขาวมีตาสีคล้ำ ปากหนาน้อยกว่านางนวลธรรมดา ทั้งปากยังมีสีแดงไม่สดเท่า ในฤดูผสมพันธุ์ นางนวลขอบปีกขาวหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ และปากก็เป็นสีแดงคล้ำด้วย

พจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองไทยของวิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ๒๕๓๙ ว่า นกนางนวลธรรมดามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Larusbrunicephalus จัดอยู่ในวงศ์ Laridae ส่วนนกนางนวลขอบปีกขาวชื่อ Larus ridibundus ทั้งสองชนิดไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทยจะอพยพเข้ามาหากินในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น

Cart  

(empty)

New products

No new products at this time