แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น central45
แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (view more...)
Wat Chom Chuen Archaeological excavated site, Si Satchanalai Historical Park, Changwat Sukhothai
June 2012
แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (view more...)
Wat Chom Chuen Archaeological excavated site, Si Satchanalai Historical Park, Changwat Sukhothai
June 2012
แหล่งขุดค้นโบราณคดีวัดชมชื่นอยู่บริเวณด้านหน้าของพระวิหารวัดชมชื่นที่สร้างขึ้นมาในสมัยสุโขทัย แหล่งโบราณคดีนี้นี้ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนโบราณอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ โดยพบหลุมฝังศพมนุษย์โบราณจำนวน ๑๕ โครงชุมชนนี้ต่อมาได้พัฒนามาถึงสมัยทวารวดีหรือพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ โดยพบกลุ่มโบราณสถานก่อด้วยอิฐที่มีขนาดใหญ่ ๒ กลุ่ม และได้พบเครื่องถ้วยเชลียงจำนวนมากที่ระบุอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา จนเข้าสู่สมัยสุโขทัยซึ่งเป็นสมัยการก่อตั้งโบราณสถานวัดชมชื่นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึง ๑๙
วัดชมชื่นตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงมาทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๐๐ เมตร โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธานทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง (ไม่รู้ว่าเรียกทรงระฆังหรือทรงลังกาได้หรือไม่ ในหนังสือนำชม ฯ ๒๕๕๓ ไม่ระบุ) ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีมณฑปที่ก่อเป็นห้องทึบเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ด้านหน้าของมณฑปทำเป็นซุ้มจรนัม ๒ ซุ้ม ด้านหลังมีซุ้มจรนัมที่เคยประดิษฐานพระนาคปรก (ปัจจุบันไม่มี) หลังคามณฑปใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นรูปจั่วแหลม ด้านหน้าของมณฑปต่อเชื่อมกับพระวิหารซึ่งก่อด้วยศิลาแลงขนาด ๖ ห้องมีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ในหนังสือนำชมของกรมศิลปากรระบุว่า แม้รูปแบบของวิหารจะเป็นแบบศิลปะสมัยสุโขทัย แต่ฐานอาคารเดิมก่อด้วยอิฐซึ่งต่อมาได้สร้างวิหารศิลาแลงปิดทับ และยังพบว่ามีอาคารสี่เหลี่ยมที่มีซุ้มคล้ายปรางค์แบบเขมรอยู่ภายในองค์เจดีย์ประธาน จึงสันนิษฐานว่า เดิมเป็นปรางค์แบบเขมร แต่มาสร้างทับด้วยศิลปะ (ทรงลังกา) ของสุโขทัย หรือแสดงว่า โบราณสถานวัดชมชื่น (วิหารและเจดีย์) เคยสร้างเป็นแบบศิลปะเขมรมาก่อน ต่อมาภายหลังจึงมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบสุโขทัย