ทองกวาว nature120
ทองกวาว จังหวัดนครสวรรค์ (view more...)
Flame of the forest in Changwat Nakhon Sawan
(Febuary 2004)
ทองกวาว จังหวัดนครสวรรค์ (view more...)
Flame of the forest in Changwat Nakhon Sawan
(Febuary 2004)
ทองกวาวเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง ๑๒-๑๕ เมตร ทรงพุ่มรูปทรงกระบอกหรือทรงกลม ปลายกิ่งห้อยลงและกิ่งมักจะคดงอ ใบเป็นใบประกอบที่มีใบย่อย ๓ ใบ ใบใหญ่หนา ใบย่อยที่อยู่ตรงกลางเป็นรูปมนกว้างเกือบกลม ใบย่อยด้านข้างมีขนาดกว้างที่โคนและกลางใบ ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและด้านข้าง ดอกคล้ายดอกแคยาว ๕-๘ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มคล้ายกำมะหยี่มีขนคลุม กลีบดอกสีแดงสด (ของ thaiphotosite เป็นสีเหลืองอมส้ม ใบไม่มีให้ดูสักใบ มีแต่ดอกเต็มกิ่งไปหมด) ผลเป็นฝักสีเขียวอ่อนเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ฝักแบนรูปขอบขนานยาว ๑๔ เซนติเมตร คล้ายเป็นปีกมีขนอ่อนนุ่มมีเมล็ดที่ตอนปลายฝัก ๑ เมล็ด (ฝักก็ไม่มี) ดอกบานระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน ทองกวาวมีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อ จอมทอง (ใต้) ทองตัน กวาว ก๋าว (เหนือ) จาน (อิสาน) มีชื่อสามัญ Bastard teak และ Flame of the florest มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Buteamonosperma (Lam.) Taub. จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae มีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย
(thaiphotosite ใช้ข้อมูลจากหนังสือ ๒ เล่ม พรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙ ๒๕๓๙ ที่มีรายละเอียดพร้อมภาพประกอบ และพจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองไทย ๒๕๓๗ ของวิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ซึ่งไม่มีภาพถ่ายประกอบ)
แก้ไขข้อมูลเมื่อ March 2013