แก่นตะวัน nature125

แก่นตะวัน กรุงเทพมหานคร (view more...)

Jerusalem antichoke in Bangkok

(August 2011)

More details


฿30 tax incl.

1 item in stock

Warning: Last items in stock!

แก่นตะวัน พืชเศรษฐกิจทางเลือกตัวใหม่ที่เพิ่งมีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เดิมเรียกชื่อว่า แห้วบัวตอง เพราะมีดอกคล้ายกับดอกบัวตองแต่สีเหลืองสดกว่า ต่อมา ร.ศ. สนั่น จอกลอย จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำสายพันธุ์เข้ามาปลูกในแปลงทดลองวิจัยจำนวน ๒๔ สายพันธุ์ พร้อมกับได้พัฒนาสายพันธุ์ให้บริสุทธิ์จนสามารถผลิตหัวสดได้ไร่ละ ๒-๓ ตัน และให้ชื่อใหม่ว่า แก่นตะวัน โดยให้เหตุผลว่า แก่นตะวันเป็นพืชที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกับทานตะวัน แก่นก็สื่อว่า เป็นพืชที่ทนทานสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนผิดจากถิ่นกำเนิดที่เป็นเขตหนาวได้ แก่นตะวันมีลำต้นสูงประมาณ ๑-๑.๕๐ เมตร ลักษณะของต้นและใบคล้ายกับต้นทานตะวันแต่แตกแขนงมากกว่า ดอกมีขนาดเล็กคล้ายบัวตอง แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากทานตะวันและบัวตอง คือ มีหัวอยู่ใต้ดิน ซึ่งหัวของแก่นตะวันนี้เองที่มีสารอินนูลินที่มีความหวานแต่ร่างกายมนุษย์ไม่มีน้ำย่อยที่จะย่อยน้ำตาลชนิดนี้ เมื่อรับประทานหัวทั้งสดหรือสุก กากใยจะค้างอยู่ในลำใส้ทำให้อิ่มไม่รู้สึกอยากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยลดความอ้วนและป้องกันโรคเบาหวาน ทั้งน้ำตาลนี้ยังเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดที่มีประโยชน์ในลำใส้ด้วย จึงนับว่าเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (ข้อมูลคมชัดลึกดอทเน็ท และ stou.ac.th)

ข้อมูลจากพจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองไทย โดยวิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ๒๕๓๗ ระบุว่า แก่นตะวัน อยู่ในวงศ์ Compositae มีชื่อสามัญ Jerusalem antichoke มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus Linn. มีชื่อไทยว่า ทานตะวันหัว เป็นพืชสกุลเดียวกับทานตะวัน โดยทานตะวันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus annuus Linn. ชื่อสามัญ Sunflower มีชื่อพื้นเมือง บัวทอง บัวผัด (เหนือ) และชอนตะวัน เป็นพรรณไม้ล้มลุกจากต่างประเทศ ส่วนบัวตองไม่ระบุถึง

รูปที่นำมาเป็นต้นแก่นตะวันที่คนที่บ้านเอาหัวมาปลูกไว้ในกระถาง ก็งอกดี แต่ปัจจุบันต้นผอมยาวใบน้อย เพิ่งทราบว่าต้นนี้จะสูงได้ถึงเมตรครึ่ง และชอบดินร่วนปนทราย คงต้องหาทางเปลี่ยนกระถางและปรับดินกันใหม่ถ้าอยากจะเห็นดอก

Cart  

(empty)

New products

No new products at this time