อัญชัน nature165
อัญชัน จังหวัดขอนแก่น
Butterfly pea in Changwat Khon Kaen
Febuary 2012
อัญชันต้นนี้ปลูกอยู่ติดกับต้นลีลาวดีใบลูกศรใน nature167
อัญชัน จังหวัดขอนแก่น
Butterfly pea in Changwat Khon Kaen
Febuary 2012
อัญชันต้นนี้ปลูกอยู่ติดกับต้นลีลาวดีใบลูกศรใน nature167
อัญชันเป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเป็นช่อยาว ๖-๑๒ เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ ๕-๗ ใบ ดอกมีทั้งดอกลาหรือดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน มีสีน้ำเงินแก่ ฟ้า ม่วงแดง ม่วงอ่อน และขาว ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ (เป็นอย่างไรนะคิดไม่ออก) ยาว ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร กลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่งตรงกลางมีสีเหลือง ออกดอกเกือบตลอดปี มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด อัญชันมีชื่อสามัญว่า Blue Pea หรือ Butterfly Pea มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clitoria ternatea Linn. อยู่ในวงศ์ Legumenosae (พรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙ ๒๕๓๙ ท่านบรรยายเอาไว้ว่าอย่างนั้น)
คราวนี้มาดูภาคภาษากันบ้าง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ ว่า อัญชันเป็นนามเรียกชื่อ พรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Legulaminosae คือ ไม้ต้นชนิด Dalbergia duperreana Pieere และไม้เถาชนิด Clitoria ternatea Linn. ชนิดหลังมีดอกสีครามแก่ ขาว และม่วงอ่อน ถ้าใช้เป็นคำขยาย เช่น หากมีสีอย่างสีดอกอัญชัน ก็เรียกว่า สีอัญชัญ นอกจากนี้ยังมีคำว่า อัญชัญป่า ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกชนิด Clitoria macrophylla Wall. ชนิดนี้มีรากโตและอวบคล้ายรากกระชาย และเพราะมีลักษณะของรากคล้ายกับรากของต้นหนอนตายหยากจึงพลอยได้รับการเรียกชื่อเป็นต้นหนอนตายหยากไปด้วย
ต้นหนอนตายหยากเป็นไม้ในวงศ์ Stenomaceae มี ๒ ชนิดด้วยกัน คือ Stenoma collinsea Craib และ Stenoma tuberosa Lour. ซึ่งชนิดแรกเป็นไม้เถามีชื่อพื้นเมืองว่า กะเพียดช้างหรือปงช้าง ส่วนชนิดหลังเป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอ ต้นตั้งตรง มีชื่อพื้นเมืองว่า กะเพียดหรือกะเพียดหนู รากของไม้ทั้งสองชนิดนี้ใช้เป็นยาฆ่าแมลง และทำยาพอกแผลกำจัดหนอน บรื๋อ!!! น่ากลัวจัง กลัวหนอนเจาะแผล