หญ้าหนวดแมว nature171
หญ้าหนวดแมว กรุงเทพมหานคร (view more...)
Orthosiphon aristatus in Bangkok
April 2012
ดอกสีขาวมีก้านชูเกสรยาวจำนวนมากดูคล้ายหนวดแมว เหมือนจริง ๆ
หญ้าหนวดแมว กรุงเทพมหานคร (view more...)
Orthosiphon aristatus in Bangkok
April 2012
ดอกสีขาวมีก้านชูเกสรยาวจำนวนมากดูคล้ายหนวดแมว เหมือนจริง ๆ
คำบรรยายของพรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙ ๒๕๓๙ ว่า หญ้าหนวดแมวเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นรูปสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวรูปวงรีขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ดอกเป็นช่อ กลีบดอกติดกันเป็นหลอด มีสีขาวหรือม่วง ปลายแยกออกเป็น ๒ ปาก ปากบนมี ๑ กลีบ ปากล่างมี ๔ กลีบ ผลเป็นแบบผลย่อยเปลือกแข็งเมล็ดล่อน สีน้ำตาลดำ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ ใช้ใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ ๑ กอบมือ (สด ๙๐-๑๒๐ กรัม แห้ง ๔๐-๕๐ กรัม) ต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยชา (๗๕ ซีซี) วันละ ๓ ครั้งก่อนอาหารเพื่อขับปัสสาวะ เศรษฐมันตร์ กาญจนกุลในสมุนไพรใกล้ตัว ๒๕๕๑ เพิ่มเติมสรรพคุณว่า รักษาไขข้ออักเสบ รักษาเยื่อจมูกอักเสบ แก้นิ่ว และได้บรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ดังนี้ เป็นพืชล้มลุกที่ขึ้นบนดินปกติ กิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีขนปกคลุมทุกส่วน ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอด ดอกมีสีขาว มีก้านชูเกสรยาวจำนวนมากคล้ายหนวดแมว
หญ้าหนวดแมวจัดอยู่ในวงศ์ Labiatae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orthosiphon aristatus (Bl.) Miq. ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ หญ้าหนวดแมวเป็นชื่อหนึ่งของพยับเมฆ (ไม้พุ่มขนาดเล็ก ๒ ชนิดในสกุล Orthosiphon คือ O. aristatus และ O. grandiflorus) สอดคล้องกับพจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองไทยของวิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ๒๕๓๙ ว่าหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon aristatus (Bl.) Miq.) มีชื่อพื้นเมือง บางรักป่าและอีตู่ดง ส่วนพยับเมฆมีชื่อพื้นเมืองว่า หญ้าหนวดแมว (ตะวันออก) นั้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orthosiphon grandiflorus Bolding อย่างไรก็ดี เศรษฐมันตร์ กลับว่า O. grandiflorus เป็นชื่อพ้องของ O. aristatus เป็นงง..นิดหน่อย...