ผู้ผลิต

สมัครรับจดหมายข่าว

บอน nature 192

บอน nature 192

บอน จังหวัดตรัง (view more...)

Elephant ear plant in Changwat Trang

October 2012

วันนี้มีเรื่องให้งงหนักขึ้น ได้ภาพต้นคูนหรือต้นอ้อดิบมาแล้ว ต้นนี้ถูกต้องที่สุด เพราะไปถึงบ้านที่เจ้าของบ้านตัดเอามาแกงให้กินเลยทีเดียว ไม่คันด้วย เป็นต้นอ้อดิบจริง ๆ ลองดูใน nature 203 ซิ หน้าตาคล้ายกับต้นที่นี่เลย ต้นนี้นั้นยังไม่มีคนยืนยันจึงขอเรียกบอนไว้ก่อน ธันวาคม 2555

รายละเอียดเพิ่มเติม


฿30

1 รายการในร้านค้า

สินค้าชิ้นสุดท้านในร้าน

เรื่องของต้นบอนกันบ้าง

บอนตามคำบรรยายของ พรรณไม้น้ำบึงบระเพ็ด โครงการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้น้ำบึงบระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.  ๒๕๔๒-๒๕๔๔ กล่าวว่า บอนเป็นพืชล้มลุก อวบน้ำ มีหัวใต้ดิน สูง ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ใบเป็นรูปไข่แกมหัวใจ แผ่กว้าง ๒๐-๓๕ เซนติเมตร ยาว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเว้าลึกรูปสามเหลี่ยม ก้านใบยาว ๓๐-๑๐๐ เซนติเมตร สีเขียวหรือออกม่วง มีดอกสีครีมหรือเหลืองนวล ออกเป้นช่อแกน ยาว ๑๕-๔๕ เซนติเมตร ดอกเพศผู้อยู่ตอนบน ดอกเพศเมียอยู่ตอนล่าง ก้านช่อสั้นกว่าก้านใบ มีใบประดับสีเหลืองรองรับ ผลเป็นผลสด รูปขอบขนาน เมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก หัวใต้ดินใช้เป็นอาหาร ยาระบาย ห้ามเลือด น้ำคั้นจากก้านใบเป็นยานวด แก้ฟกช้ำ ลำต้นบดใช้พอกแผลรวมทั้งแผลจากงูกัด บอนพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ชอบขึ้นบนดินโคลน หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ 

บอนมีชื่อพื้นเมือง บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ กลาดีกุบุเฮง (ชื่อสุดท้ายประหลาดมาก) จัดอยู่ในวงศ์ Araceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colacasia esculenta var. aquatilis Hassk. บอนนี้คนละสกุลกับบอนสี โดยบอนสีอยู่ในสกุล Caladium sp.

ทางภาคใต้ ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายบอน ต้นเล็กกว่า ชาวใต้เรียก อ้อดิบ หรือคูน เอาก้านใบมาหั่นเป็นผักใส่ในแกงส้ม ซึ่งน้ำแกงมีสีเหลืองของขมิ้น ไม่ใช่แกงส้มของภาคกลางที่มีสีออกแดง กินแล้วไม่คัน ยังไม่มีโอกาสไปพิจารณาดูเลยว่า ต้นคูนต่างกับต้นบอนอย่างไร ต้องรู้ให้ได้ เขาบอกต้นมันใหญ่กว่ากัน แล้วต้นเล็ก ๆ ล่ะ

ตะกร้า  

ว่าง

สินค้าใหม่

No new products at this time