ผู้ผลิต

สมัครรับจดหมายข่าว

ตีนเป็ดน้ำ nature 217

ตีนเป็ดน้ำ nature 217

ตีนเป็ดน้ำ จังหวัดสุโขทัย (view more...)

 Pong Pong in Changwat Sukhothai

Febuary 2013

คำว่า ต้นตีนเป็ด ทำให้คนไกลวิชาแบบ thaiphotosite สับสนงุนงงอีกแล้วครับท่าน เอ..ก็ไหนว่า ต้นตีนเป็ดเป็นต้นเดียวกันกับต้นสัตบรรณ (thaiphotosite เดาะเรียกว่าพญาสัตบรรณเสียอีก ไม่รู้ไปจำมาจากไหน ผิดสองเด้งเลย) พระเจ้า...

รายละเอียดเพิ่มเติม


฿30

1 รายการในร้านค้า

สินค้าชิ้นสุดท้านในร้าน

เพื่อจะไม่ให้ท่านผู้ชมสับสนเหมือน thaiphotosite ๆ จึงต้องนำเรื่องมาเล่าขานกันวันนี้เลย ดีไหม

คำว่า ต้นตีนเป็ด ใช้กับพรรณไม้สองชนิด (อาจมีอีกแต่ thaiphotosite ไม่ทราบ ก็เป็นไปได้นะครับ) คำแรกใช้กับต้นตีนเป็ด-น้ำ หรือตีนเป็ดทะเล หรือตุ๋ม หรือสั่งลา ซึ่งจะได้นำเสนอให้ท่านชมกันวันนี้ คำที่สองใช้กับต้นสัตบรรณ หรือยางขาว หรือชบา หรือหัสบรรณ หรือพญาสัตบรรณ (นั่นแน่ะ เอามาจากท่านวิทย์ เที่ยงฯ นี่เอง นึกว่าโม้ผิดเสียแล้วเรา ฮ่า..ฮ่า..)

ตีนเป็ดน้ำ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ ๑๕ เมตร เป็นไม้ทรงพุ่มแบบร่มจึงให้ร่มเงาดี ใบออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ใบเป็นมันรูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมมีติ่ง ขอบใบเรียบ ขนาดกว้าง ๕-๗ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๓๐ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีหลายดอก ดอกขนาดใหญ่ประมาณ ๔ เซนติเมตร สีขาว มีกลีบดอก ๕ กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอด และมีสีเหลืองตรงกลางหลอด ผลรูปทรงกลมรี สีเขียว ลูกสุกแดงเป็นมัน ผลใหญ่กว่าตีนเป็ดทราย (ว้า.. นี่เรามิต้องไปหาต้นตีนเป็ดทรายมาเทียบอีกแล้วหรือ) อ่านข้อมูลในพจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองไทยของวิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ๒๕๓๙ ตีนเป็ดทรายเป็นไม้สกุลเดียวกันกับตีนเป็ดน้ำ แต่ต่างชนิด ส่วนสัตบรรณนั้นต่างทั้งสกุลและชนิด

ตีนเป็ดน้ำอยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cerbera odullam Gaertn. 

ข้อมูลมาจาก เล่มที่ได้พูดข้างบนเล่มของ พรรณไม่ในสวนหลวง ร.๙ ๒๕๓๙ และพรรณไม้สีขาวของเศรษฐมันตร์ กาญจนกุล ๒๕๕๓ ขอบคุณทั้งสามเล่มด้วยนะครับ

ตะกร้า  

ว่าง

สินค้าใหม่

No new products at this time