ชมพูภูคา-north18
ชมพูภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน (view more...)
Chomphu Phu Kha in Doi Phu Kha National Park Changwat Nan
(March 2011)
ชมพูภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน (view more...)
Chomphu Phu Kha in Doi Phu Kha National Park Changwat Nan
(March 2011)
ต้นขมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก เมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่แล้ว มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ที่มณทลยูน นาน ประเทศจีน แต่ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ในเมืองไทยพบแห่งเดียวที่ดอยภูคาซึ่งเป็นดอยที่สูงที่สุด (สูง ๑,๙๘๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล) แห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบาง มีลักษณะทางนิเวศ เป็นป่าดงดิบเขา ดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง รวมทั้งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำน่าน ปัจจุบันดอยภูคาอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ในเขตท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ดร. ธวัชชัย สันติสุข สำรวจพบชมพูภูคาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยพบต้นสูงประมาณ ๒๕ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้น ๕๐ เซนติเมตร เปลือกเรียบเป็นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบเป็นรูปไข่หรือหอก ปลายแหลม ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายระฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ดอกออกเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ผลคล้ายมะกอกแต่มีขนาดใหญ่กว่า จัดอยู่ในวงศ์ Bretschneideraceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bretschneidera sinensis Hemsl. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ชมพูภูคา โดยได้เสด็จที่ลานดูดาว เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากลัยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงปลูกต้นชมพูภูคาที่ลานดูดาว เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ (ข้อมูลจากป้ายที่ดอยภูคา เว็บ oceansmile.com และ ee43.com )
ภาพเหล่านี้ถ่ายเมื่อ เดือนมีนาคม ๒๕๕๔