พระพุทธชินราช-architecture19
พระพุทธชินราชและพระพุทธชินราชจำลอง จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดแพร่ (view more...)
Buddha Images from Changwat Sukhothai and Changwat Phrae
(March 2011)
พระพุทธชินราชและพระพุทธชินราชจำลอง จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดแพร่ (view more...)
Buddha Images from Changwat Sukhothai and Changwat Phrae
(March 2011)
พระพุทธชินราช (ภาพตั้ง) จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และพระพุทธชินราชจำลอง (ภาพนอน) จากวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ (ภาพเหล่านี้ถ่ายเมื่อ เดือนมีนาคม ๒๕๕๔) ข้อมูลของพระพุทธชินราช (จากเว็บ) มีดังต่อไปนี้
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีลักษณะงดงาม องค์พระมีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว (๒.๘๗๕ เมตร) สูงเจ็ดศอก (๓.๕ เมตร) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขัดเงาเกลี้ยง เป็นพระพุทธรูปที่อยู่คู่เมืองพิษณุโลกมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล สันนิษฐานว่าสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงปิดทองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๖ และเมื่อ ๒๔๗๘ ปัจจุบันพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารทางทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร องค์พระนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำบัวหงายพระพักตร์หันไปทางทิศตะวันตก (ด้านริมแม่น้ำน่าน) มีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง ประดับเนื้อพระปฤษฎางค์ ประณีตอ่อนช้อยงดงาม เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระเกศมีรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนมะตูม พระวรกายอวบอ้วนมี สังฆา ยาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ ฝังด้วยแก้วนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาท แบนราบค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับยุคสุโขทัย ส้นพระบาทยาวมีรูป อาฬวก ยักษ์และรูปท้าวเวสสุวัณหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือที่เรียกขานกันว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านในบริเวณตัวเมืองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างามที่สุดองค์หนึ่งของไทย สันนิฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาครั้งสถาปนาเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวงในพุทธศักราช ๑๙๐๐ พุทธลักษณะเป็นการนำเอาลักษณะที่งามตามแบบอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยกับเชียงใหม่มาผสมผสานกันอย่างลงตัว เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชครั้งแรกในปี ๒๔๓๕ ทรงบันทึกไว้ว่า "เวลานั้นยังมิได้ปฏิสังขรณ์แก้ไขพระวิหารให้สว่างอย่างทุกวันนี้ พอไปถึงประตูวิหารแลเข้าไปข้างใน ดูที่อื่นมืดหมดเห็นแต่องค์พระชินราชตระหง่านงามเหมือนลอยอยู่ในอากาศ เห็นเข้าก็จับใจเกิดเลื่อมใสในทันที เพราะเขาทำช่องแสงสว่างเข้าทางประตูใหญ่ด้านหน้าแต่ทางเดียว พระชินราชตั้งอยู่ข้างในตรงประตูและเป็นของปิดทอง จึงแลเห็นก่อนสิ่งอื่นในวิหาร"