พระคันธาราษฎร์ architecture41

พระคันธาราษฎร์ architecture41

พระคันธาราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (view more...)

Buddha Image at Wat Na Phra Men Changwat Phra Nakhon Siauytthaya

(July 2009)

รายละเอียดเพิ่มเติม


฿30

1 รายการในร้านค้า

สินค้าชิ้นสุดท้านในร้าน

ข้อมูลจากหนังสือนำเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์ อยุธยา ของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ โดย ศิรประภา ดารามาตร์ ๒๕๕๐ กล่าวว่า พระคันธาราษฎร์เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่นั่งห้อยพระบาท ศิลปสมัยทวารวดี หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๔ ซึ่งเป็นยุคที่นิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่านำมาจากเมืองนครปฐมโบราณ เพราะได้ขุดพบเรือนแก้วศิลาที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม เมื่อนำมาประกอบเข้ากับพระพุทธรูปองค์นี้ ปรากฏว่าสามารถเข้ากันได้สนิท จึงคาดว่าน่าจะอัญเชิญมาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เนื่องจากมีการสำรวจท้องที่บริเวณจังหวัดนครปฐม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ที่บ้านท่านาเรียกว่า เมืองนครชัยศรี พระพุทธรูปขนาดใหญ่นี้พบหลายแห่งในเขตเมืองโบราณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หลวงพ่อโตที่วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี ก็เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทเช่นเดียวกัน (แต่ thaiphotosite ไม่ทราบว่าเป็นสมัยเดียวกันหรือไม่ ดูรายละเอียดหลวงพ่อโตใน architecture40)

พระคันธาราษฎร์ประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อยที่วัดหน้าพระเมรุ ซึ่งเป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๗ ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรี อยุธยา เดิมได้รับพระราชทานชื่อว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" ต่อมาภายหลังเรียกกันว่า "วัดหน้าพระเมรุ " วัดนี้ได้รับการซ่อมแซมมาหลายสมัย ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจนอกจากวิหารน้อยที่ประดิษฐานพระคันธาราษฎร์แล้ว คือ พระอุโบสถขนาดใหญ่ถึง ๙ ห้อง สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง อุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดใหญ่ เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ เนื่องจากพม่าใช้วัดนี้เป็นกองบัญชาการ

ตะกร้า  

ว่าง

สินค้าใหม่

No new products at this time