พุทธปฏิมากร architecture38
พุทธปฏิมากร ที่วัดจำปา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Buddha images at Wat Champa and Wat Phra Mahathat in the Southernpart of Thailand
พุทธปฏิมากร ที่วัดจำปา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Buddha images at Wat Champa and Wat Phra Mahathat in the Southernpart of Thailand
พุทธปฏิมากร หมายถึงรูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป มักใช้ย่อเป็น ปฏิมา หรือ ปฏิมากร พระพุทธรูปเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่นับถือพุทธศาสนา เป็นที่กราบไหว้บูชา พระพุทธรูปจะได้รับการประดิษฐานไว้ในที่สูงภายในอาคารที่เป็นอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลา ในสถานที่ทำงาน อาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้บูชา การสร้างพระพุทธรูปเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง คนสร้างหวังจะสร้างให้งามที่สุด เด่นที่สุด จับตาจับใจที่สุด ในสมัยโบราณที่ผู้คนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ทำมาหากินกับธรรมชาติ คล้อยตามวิถีแห่งฤดูกาล งานศิลป์ทำด้วยมือ ทำด้วยใจศรัทธา ผลงานทุกชิ้นต่างมีเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่สม่ำเสมอเท่ากันหมดทุกอย่าง เพราะผลิตออกมาได้ที่ละชิ้น โดยมักเป็นผลงานของช่างฝีมือแต่ละคน ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ทุกอย่างรีบเร่ง งานศิลป์กลายเป็นงาน "เหมายกเข่ง" ผลงานทุกชิ้นที่ออกมาจะเหมือนกันไปหมด สวยเหมือนกันหมด หรือหากมีตำหนิใด ๆ ก็มีเหมือนกันหมดเช่นกัน ผลงานของทั้งสองแบบ ต่างก็เหมาะสมแล้วกับสถานการณ์ของแต่ละยุค จะว่าอย่างไหนดีกว่ากันคงจะไม่ได้
พระพุทธรูปจากวัดในภาคใต้ สร้างในสมัยอย่างน้อยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นพระประธานในวิหารธรรมศาลา (south24) และพระประธานในวิหารโบราณวัดจำปา (south 25) ทั้งสองแห่งมีพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยปัจจุบันประดิษฐานรวมอยู่ในวิหารให้เปรียบเทียบด้วย