เครื่องถ้วยเบญจรงค์ architecture49
เครื่องถ้วยเบญจรงค์ จังหวัดสมุทรสงคราม (view more...)
Benjarong porcelain of Changwat Samut Songkhram
November 2011
เครื่องถ้วยเบญจรงค์ จังหวัดสมุทรสงคราม (view more...)
Benjarong porcelain of Changwat Samut Songkhram
November 2011
คำว่า เบญจรงค์ ในหนังสือสมุทรสงคราม หมายถึง เครื่องถ้วยห้าสี ประกอบด้วยสีเขียว ขาว ดำ แดง และเหลือง มีแหล่งกำเนิดจากประเทสจีน เริ่มแพร่หลายในไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในสมัยนั้น เครื่องถ้วยเบญจรงค์ เป็นของใช้ในราชสำนักและบ้านขุนนางชั้นสูง ใช้ในพิธีศาสนาและพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ชามบายสี มีลายต่าง ๆ เช่น ลายเทพนม เทพนมนรสิงห์ ราชสีห์ ยักษ์ ครุฑ เครื่องถ้วยเบญจรงค์รุ่งเรืองมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ทรงสั่งเครื่องถ้วยจากจีนมาใช้ในราชสำนัก ซึ่งมีทั้งเครื่องเบญจรงค์ และเบญจรงค์ลายน้ำทอง โดยเขียนสีทองเพิ่มภายหลังการเคลือบลงยา มีลวดลายต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก ได้แก่ ลายกุหลาบ ลายดอกเบญจมาศ ดอกพุดตาน นก ผีเสื้อ มีทั้งลายไทยและลายแบบจีน ซึ่งมีความละเอียดงดงาม กล่าวได้ว่า เบญจรงค์ เป็นเครื่องถ้วยศิลปะไทย-จีน เป็นหัตถกรรมชั้นสูงที่มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ปัจจุบัน เบญจรงค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้เป็นของขัวญและของที่ระลึก (ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์อุทยาน ร.๒)
ภาพ ๑ เป็นภาพโถเบญจรงค์ลายเทพนมสลับนรสิงห์ และชามเบญจรงค์ลายเทพนมนรสิงห์ ภาพ ๒ เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์
ภาพ ๓ ลายจักรีก้านขด ภาพ ๔ ลายกนกพุ่มใบเทศ ภาพ ๕ ลายเทพนมนรสิงห์ ภาพ ๖ ลายกุหลาบน้ำทอง
ภาพ ๗ ลายเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ภาพ ๘ ลายกนกพุ่มข้าวบิณฑ์ ภาพ ๙ ลายบัวสวรรค์ และภาพ ๑๐ ลวดลายต่าง ๆ ได้แก่ กุหลาบน้ำทอง จักรี ดอกรักใบเทศ เขี้ยวยักษ์ บัวสวรรค์ พุ่มขด พุ่มข้าวบิณฑ์ พุ่มตา และเทียนหยด