มกรคายนาค architecture73
มกรคายนาค วัดทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย (view more...)
Makara scultures in Wat Thung Saliam Changwat Sukhothai
May 2012
มกรคายนาค วัดทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย (view more...)
Makara scultures in Wat Thung Saliam Changwat Sukhothai
May 2012
thaiphotosite ได้เคยนำเสนอบันไดของวัดในภาคเหนือที่นิยมทำเป็นรูปมกรคายนาคมาแล้วใน architecture 02 และ 24 ซึ่งได้เล่าถึงความหมายของของคำว่า มกรคายนาคไปแล้ว นอกจากมกรคายนาคแล้ว ยังได้นำเสนอบันไดที่ปั้นเป็นรูปตัวมอมที่วัดพระธาตุสุโทน จังหวัดแพร่ (architecture 23) ครั้งนี้เมื่อไปพบบันไดที่วิหารและโบสถ์ของวัดทุ่งเสลี่ยม ทำเป็นรูปมกรคายนาคอย่างสวยงาม จึงได้อ่านข้อมูลเพิ่มในวิกิพีเดีย เห็นบอกว่า มกร หรือเบญจลักษณ์ หรือตัวสำรอก เป็นสัตว์ตามความเชื่อของพม่า ล้านนา สยาม และเขมร ชื่อตัวสำรอกน่าจะมาจากการคายสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกจากปาก นอกจากนี้มกรยังมีในเทววิทยาฮินดู โดยเป็นสัตว์ปลาดในทะเลมักแสดงในรูปของสัตว์ผสม ครึ่งหน้าอาจเป็นสัตว์บกอย่างช้าง จระเข้ หรือกวาง ครึ่งหลังเป็นรูปสัตว์น้ำ (มักเป็นส่วนหาง) เช่น หางปลา หรือครึ่งล่างเป็นแมวน้ำ บางครั้งเป็นนกยูง มกรเป็นพาหะนะของพระแม่คงคา และพระวิรุณ ซึ่งเทพเจ้าทั้งสองต่างก็เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ โดยพระแม่คงคาก็แม่น้ำคงคา พระวิรุณก็เทพแห่งทะเลและสายฝน (เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแห่งน้ำจืดและเจ้าแห่งน้ำเค็มและฝนก็น่าจะได้ แต่เอ.. ไม่รู้ว่าพระวิรุณนี่จะรวมหิมะเข้าไว้ด้วยหรือเปล่านะ)
มกรที่นำเสนอในวันนี้มี ๒ มกรคู่ (ราวบันไดมี ๒ ข้าง) คู่หนึ่งเป็นของโบสถ์เก่า ส่วนอีกคู่เป็นของวิหารสร้างใหม่